ฝังการแจ้งเตือนคุกกี้บนเว็บไซต์ของคุณด้วย ตอบสนอง ง่ายต่อการใช้ ไม่มีการเข้ารหัส ความยินยอมของคุกกี้ วิดเจ็ตสำหรับเว็บไซต์ อะไรทำให้ความยินยอมของคุกกี้มีความพิเศษ? การแจ้งเตือน การแจ้งเตือนคุกกี้ทำได้อย่างง่ายดาย การสร้างการแจ้งเตือนการใช้คุกกี้สำหรับเว็บไซต์เป็นเรื่องง่ายแล้ว กับ วิดเจ็ตของเรา คุณไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด เพียงเพื่อเพิ่มสองสามรายการเท่านั้น องค์ประกอบสำคัญ ขั้นแรก ให้เลือกประเภทการปฏิบัติตามข้อกำหนด: การแจ้งเตือน เท่านั้นหรือขอความยินยอมและเขียนข้อความซึ่งผู้ใช้จะทำ อ่านในหน้าต่าง จากนั้น หากจำเป็น ให้แชร์ลิงก์ไปยังของคุณ นโยบายการปฏิบัติตาม สุดท้าย เพิ่มปุ่มขอความยินยอมจากคุณ ป้ายกำกับที่กำหนดเอง เค้าโครง ค้นหาเค้าโครงและตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด ด้วยวิดเจ็ตคุกกี้ การแจ้งเตือนคุกกี้ของคุณจะไม่เพียงแต่ในเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น แต่ยังถูกที่และรูปแบบที่ถูกต้องด้วย คุณสามารถเลือกเค้าโครงแถบหรือกล่องของวิดเจ็ตได้ เค้าโครงทั้งสองมีรูปแบบตำแหน่งที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงสามารถวางแถบไว้ที่ด้านบนหรือด้านล่างของหน้าได้ ในขณะที่ Box ก็สามารถจัดแนวไปทางซ้าย ขวา หรือตรงกลางได้เช่นกัน สไตล์ เพิ่มสัมผัสสไตล์การตกแต่ง สไตล์มีความสำคัญในทุกองค์ประกอบของเว็บไซต์ของคุณ และนั่นหมายความว่าหน้าต่างการแจ้งเตือนคุกกี้ของคุณควรเหมาะสม เพื่อให้คุณสามารถจับคู่กับเว็บไซต์ได้ เราได้แนะนำตัวเลือกในการเลือกสีสำหรับองค์ประกอบอินเทอร์เฟซต่างๆ ขนาดตัวอักษรที่ปรับแต่งได้ และไอคอนคุกกี้สวยๆ ที่คุณอาจต้องการเพิ่มในวิดเจ็ตของเรา ตัวอย่างการใช้งาน ดูตัวอย่างจริงที่ได้รับการคัดสรรเพื่อสำรวจศักยภาพสูงสุดของการยินยอมให้ใช้คุกกี้สำหรับเว็บไซต์ของคุณ ดูในการดำเนินการ การสาธิต ลองใช้คุณสมบัติทั้งหมดของ Cookie Consent ในการสาธิตสดทันที ไม่มีค่าธรรมเนียม ไม่มีการลงทะเบียน ไม่มีการเข้ารหัส ลองตอนนี้ คำถามที่พบบ่อย PDPA คืออะไร PDPA (Personal Data Protection Act, B.E. 2562 (2019)) คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อ 27 พฤษภาคม 2562 และมีผลบังคับใช้เมื่อ 28 พฤษภาคม 2562 แล้วในบางส่วน โดยวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เป็นวันที่ พ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายทั้งฉบับ ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร คือข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม และข้อมูลนิติบุคคล ไม่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.นี้ ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ได้แก่ ชื่อ - นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, อีเมล, การศึกษา, เพศ, อาชีพ, รูปถ่าย, ข้อมูลทางการเงิน นอกจากนี้ยังรวมถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) ด้วย เช่น ข้อมูลทางการแพทย์หรือสุขภาพ, ข้อมูลทางพันธุกรรมและไบโอเมทริกซ์, เชื้อชาติ, ความคิดเห็นทางการเมือง, ความเชื่อทางศาสนาหรือปรัชญา, พฤติกรรมทางเพศ, ประวัติอาชญากรรม, ข้อมูลสหภาพแรงงาน เป็นต้น สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ได้แก่อะไรบ้าง สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed) สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access) สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability) สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object) สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคล (Right to erasure also known as right to be forgotten) สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing) สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง จ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) คือ บุคคลที่ข้อมูลระบุไปถึง ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ “ตัดสินใจ” เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล “ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าว ต้องไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA จะเป็นอย่างไร? สำหรับผู้ที่นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) และผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) จะมีโทษทางกฎหมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้ ความรับผิดทางแพ่ง ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และอาจต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นอีก โดยสูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง โทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษทางปกครอง ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท Cookies Policy สำคัญยังไงจำเป็นต้องมีหรือไม่ สำหรับกรณีประเทศไทย จากการตีความนิยามภายใต้ พรบ. Cookies ถือว่าเข้านิยามการเป็น “ข้อมูลส่วนบุคคล” ดังนั้นการใช้ Cookies ที่หน้าเว็บไซต์ หรือ Application ก็ต้องมีการแจ้ง Cookies Policy เช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามหากเว็บไซต์หรือ Application ดังกล่าวดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในลักษณะอื่นนอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยี Cookies เช่น มีการสร้าง Username / Password มีการกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียน ซึ่งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว ผู้ควบคุม ข้อมูลต้องจัดทำ Privacy Notice หรือการขอความยินยอมรวมทุกการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอยู่แล้ว ผู้ควบคุมข้อมูลนั้นสามารถนำ Cookies Policy เข้าไปรวมเป็นเนื้อหาใน Privacy Notice หรือการขอความยินยอมรวม โดยไม่ต้องทำ Cookies Policy ขึ้นมาเป็นหน้าต่างแยกก็ได้